Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ และ อำนาจหน้าที่เทศบาล
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
สถานะการคลัง/งบประมาณ
แผนพัฒนาท้องถิ่น
บุคลากร
คณะผู้บริหาร/หัวหน้าส่วนราชการ
สมาชิกสภาเทศบาล
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองประปา
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2566
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
เทศบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุมสภา
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
E - Service
คู่มือประชาชน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประวัติความเป็นมา
ประวัติเทศบาลตำบลอ่างศิลา
สัญลักษณ์  ใช้ บ่อหิน
ข้อมูลทั่วไปของตำบลอ่างศิลา ปัจจุบัน
จำนวนประชากรตามสถิติทะเบียนราษฏร์ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พุทธศักราช 2566
จำนวนประชากรทั้งสิ้น  3,057 คน
จำนวนประชากรชาย    1,455 คน
จำนวนประชากรหญิง   1,602 คน
จำนวนครัวเรือนทั้งสิน   815  ครัวเรือน

แยกตามหมู่บ้าน ดังนี้
- หมู่ 2 จำนวน 191 ครัวเรือน
- หมู่ 3 จำนวน 191 ครัวเรือน
- หมู่ 4 จำนวน 153 ครัวเรือน
- หมู่ 5 จำนวน  47  ครัวเรือน
- หมู่ 9 จำนวน  233 ครัวเรือน

สถานที่สำคญของเทศบาลตำบลอ่างศิลา  ปัจจุบัน
- วัดประจำหมู่บ้าน 3 แห่ง คือ
1. วัดศรีนวล สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2465
2. วัดศีลวิสุทธาราม  สร้างเมื่อปี พุทธ 2497
3. วัดบ้านโนนโพธิ์ ------------

- โรงเรียนระดับประถมศึกษา สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2475
- โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา  สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2497
- โรงพยาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2547
-  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2536
- ศูนย์การศึกษานอกโณงเรียน -
- ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2540
- ที่ทำการเทศบาลอ่างศิลา สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2542
- ธนาคารชุมชน สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2549
- ไปรษณีย์ -    
- ตลาดสด -
- ป้อมตำรวจ (จุดตรวจ) สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2548
- ห้องสมุดชุมชน -
- สาธารณูปโภค - 
- ไฟฟ้า เริ่มมีในปี พุทธศักราช 2524
- น้ำประปา เริ่มมีในปี พุทธศักราช 2539
- ถนนลูกรัง เริ่มมีในปี พุทธศักราช 2500
- ถนนลาดยาง เริ่มมีในปี พุทธศักราช 2511
- ถนนคอนกรีต เริ่มมีในปี พุทธศักราช 2547
- โทรศัพท์สาธารณะ เริ่มมีในปี พุทธศักราช 2534

ประวัติบ้านอ่างศิลา
         
            ก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2439 เดิมชื่อบ้านอ่างหินใหญ่ หมู่ 6 (หมู่ 2 ในปัจจุบัน)  ตำบลหนองฮี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มี นายคล้าย ปุญญา เป็นกำนัน ตำบลหนองบัวฮี ผู้ก่อตั้งบ้านอ่างศิลา นายผง บัวใหญ่  ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านหนองบัวฮีพร้อมกับพวก 
ประกอบด้วย นายเผ้า,นายนายอ่อนสี,นายเต็ม,นายเบี้ย,นายกุ และอีกหลายครอบครัวที่ย้ายมาจากบ้านไร่ทุ่ง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี บ้านอ่างหินใหญ่ตั้งชื่อตามภูมิปรเทศที่มีลักษณะเป็นแอ่งหินศลาแลงขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านในปัจจุบัน 
บ้าน นายผง บัวใหญ่ ในสมัยนั้นคือบริเวณบ้าน พ่อเปลี่ยน รัญคำภา หรือชุมชนหมู่ 9ในปัจจุบัน โดยแต่งตั้งนายเงิน บุญสุข เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก บ้านผู้ใหญ่บ้านเงิน บุญสุข สมัยนั้นอยู่บริเวณบ้านครูสุวรรณ เมืองซอง ในปัจจุบัน ต่อมาชุมชนขยายใหญ่ขึ้น  ผู้ใหญ่บ้านเงิน บุญสุข
จังชักชวนชาวบ้านทำการก่อสร้างวัดศรีนวลขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านร่วมกันทำบุญตามประเพณี  นายเงิน บุญสุข ได้ปกครองบ้านอ่างหินใหญ่ประมาณ 7 ปี จึงลาาออกจากตำแหน่งเพราะแก่ชรามาก ทรงราชการจึงแต่งตั้งให้ นายโก๊ะ รูปงามเป็นผู้ใหญ่บ้านคนท่ 2 หมู่ที่ 6 บ้านของ นายโก๊ะ รูปงาม
ในสมัยนั้นคือบ้านแม่บุตร ในปัจจุบัน (ข้างบ้านตาประมวล อ่อนยอ) เมื่อปี พุทธศักราช 2478 ด้วยความที่เป็นชุมชนใหญ่ขึ้นจึงได้แบ่งแยกหมู่บ้านออกเป็นหมู่ที่ 14 (หมู่ 3 ในปัจจุบัน) โดยมี นายปัน นวลทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก เมือ่ปี พุทธศักกราช 2497 นายโก๊ะ รูปงาม ถึงแก่กรรม
ทางราชการจึงได้แต่งตั้งให้ นายบุญมี พิมพบุตร เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 หมู่ 6 ปี พุทธศักราช 2500 หลวงปู่เพียร โพธิญาโน ภาคะ หรือพระครูพินิจสังฆภาร เห็นว่าบ้านอ่างหินใหญ่เป็นชุมชนใหญ่และขยายออกไปเรื่อยๆจึงปรึกษาหารือกับกำนันคล้าย  ปุญญา เพื่อขอแยกปกครองออกจากตำบลหนองบัวฮีมาเป็นตำบลอ่างศิลาและนำมาประชุมปู้ใหญ่บ้านพร้อมลูกบ้านตำบลอ่างศิลาจึงได้แยกปกครองในปีนั้น มีการเลือกตั้งผู้กำนันครั้งแรก โดยมีผู้ลงสมัครแข่งขันกัน 2 คน คือนายบุญมี พิมพบุตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 และนายวัน แก้วประชา ผู้ใหญ่บ้านแขมเหนือ
ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง คือนายบุญมี พิมพบุตร เป็นกำนันคนแรก ปกครองตำบลอ่างศิลาเป็นเวลา 6 ปี จึงลาออกจากตำแหน่ง ปี พุทธศักราช 2506 ได้แต่งตั้ง นายทองดี สิงค์คำ เป็นกำนันคนที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2506 ถึงปี พุมธศักราช 2527 ครบเกษียณอายุ รวม 21 ปี
ต่อมาตั้งแต่ นายไพรัช สิงค์คำ เป็นกำนันคนที่ 3 เกษียณอายุ ปี พุทธศักราช 2543 และมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง นายไพนิตย์ บุญล้อม ได้รับการเลือกเป็นกำนันคนที่ 4 จนถึงปัจจุบัน

วิวัฒนาการการปกครอง ตำบลอ่างศิลา แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
         1.  ปี พ.ศ.2524 มีการปกครองแบบสภาตำบล
              ปี พ.ศ.2538 มีการปกครองแบบองค์การบริหารส่วนตำบล
         2.  ปี พ.ศ.2539 มีการปกครองแบบสุขาภิบาล
              ปี พ.ศ.2543 มีการปกครองแบบเทศบาลจนถึงปัจจุบัน
การก่อตั้งตำบลอ่างศิลาในช่วงแรกมีหมู่บ้านในการปกครอง 16 หมู่บ้าน เมื่อปี พุทธศักราช 2537 ได้แยกเป็นตำบลบ้านแขม
เหลือ 8 หมู่บ้าน มีการแยกหมู่บ้านเพิ่มอีก 4 หมู่ รวมเป็น 12 หมู่และเรียงลำดับหมู่บ้านใหม่ ปัจจุบัน 
ตำบลอ่างศิลามีการปกครองเป็น 12 หมู่บ้าน คือ
 
         หมู่ 1 บ้านดอนก่อ  ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายบุญสีทา เค้าทอง
         หมู่ 2 บ้านอ่างหินเหนือ  ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายคำตัน นามวา(ปัจจุบัน นายสมศักดิ์  หงษ์ทอง ๒๕๖๕ )
         หมู่ 3 บ้านอ่างหินใต้ ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายไพศาล  แสนทวีสุข
         หมู่ 4 บ้านอ่างหินสามัคคี ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายวิเซียร บัวใหญ่ (ปัจจุบัน เป็นกำนันตำบลอ่างศิลา ๒๕๖๕ )
         หมู่ 5 บ้านโนนโพธิ์ ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นางบัวสอน วงษ์ชมพู  (ปัจจุบัน นางมาลัย สีแสด ๒๕๖๕ )
         หมู่ 6 บ้านโนนจิกเจริญ ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเติม แก่นอ้วน
         หมู่ 7 บ้านราษฏร์เจริญ ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสมาน สมสนิท  
         หมู่ 8 บ้านโนนสว่าง ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายไพนิตย์ บุญล้อม
         หมู่ 9 บ้านศลารักษ์ ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสมพร  บุญเหลา
         หมู่ 10 บ้านคลองแสงจันทร์ ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายบุญเยี่ยม  ใชยเหนือ
         หมู่ 11 บ้านอ่่างอุดม ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นางบังอร แก่นจันทร์  
         หมู่ 12 บ้านสว่างพัฒนา ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายณรงค์ชัย ทองสวัสดิ์

การปกครองนอกเขตหรือองค์การบรหารส่วนตำบล มี 7 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1,6,7,8,10,11,12
การปกครองในเขตเทศบาล มี 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่2,3,4,5,9
ปัจจุบัน สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลอ่างศิลา
           พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ  สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย สามารถปลูก  พืชทำนาได้ตามฤดูกาล
มีคลองชลประทานสายใหญ่ไหลผ่านเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าวนาปรังและพืชผักสวนครัว
เทศบาลอ่างศิลา อยู่ในเขตการปกครองของอเภอพิบูลมังสาหาร อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอพิบูลมังสาหาร 
ห่างจากอำเภอพิบูลมังสาหาร 23 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี 68 กิโลเมตร มีพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร
ครอบคลุมพื้นที่ในเขตตำบลอ่างศิลา รวม 5 หมู่บ้าน ดังนี้
        
        - บ้านอ่างหินเหนือ        หมู่ 2
        - บ้านอ่างหินใต้            หมู่ 3
        - บ้านอ่างหินสามัคคี      หมู่ 4
        - บ้านศิลารักษ์              หมู่ 9
        - บ้านโนนโพธิ์              หมู่ 5

อาณาเขตการติดต่อ

- ทิศเหนือ       ติดกับ   ตำบลดอนจิก     อ.พิบูลมังสาหาร   จ.อุบลราชธานี
- ทิศใต้           ติดกับ   ตำบลนาโพธิ์     อ.บุณฑริก   จ.อุบลราชธานี
- ทิศตะวันออก  ติดกับ   ตำบลโนนกลาง  อ.พิบูลมังาหาร    จ.อุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก    ติดกับ   ตำบลบ้านแขม   อ.พิบูลมังสาหาร   จ.อุบลราชธานี

ประวัติวัดศรีนวล (ชาวบ้านเรียกว่า "วัดใน")

       
"วัดศรีนวล"   เป็นนามที่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีระวงศ์  ติสฺสมหาเถร (อ้วน แสนทวีสุข) ครั้นดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีท่านได้ไปตรวจราชการคณะสงฆ์ทางภาคอีสาน และได้มาพำนักที่วัดบา้นอ่าง (วัดศรีนวลในปัจจุบัน) รุ่งอรุณยามเช้าท่านตื่นมามองเห็นบรรยากาศรอบตัวนั้น
ซึ่งปกคลุมไปด้วยไอหมอกเป็นสีขาวนวลจีงถือเอานิมิตบรรยากาศรอบตัวนั้นตั้งเป็นนามวัดว่า "วัดศรีนวล" และยังคงใช้นามเดิมตั้งแต่นั้นมาปัจจุบันได้สร้างเมื่อปี พุทธศักราช 2453 จึงได้จัดหาพื้นที่สร้างวัดขึ้นโดยอาศัยความร่วมมือกันขแงชาวบ้านและแต่งตั้งวัดเมื่อปีพุทธศักราช 2465
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พุทธศักราช 2475

     

       ศาลาการเปปรียญสร้างขึ้นปี พุทธศักราช 2515 แทนหลังเก่าที่รื้อถอนไปแล้วและอุโบสถ  ปูชนียบุคคลที่มีคูณุปการ อย่างมากอีกท่านคือ ท่านพระเจ้าคุณเจ้า พระครูพินิจ สังฆภาร โพธิญาโณ
(เพียร ภาคะ) สมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสได้ปรับปรุงการศึกษา แผนกปริยัติประชาบาลโดยการสนับสนุนและปรับปรุงด้านการศึกษา
ในขณะนั้นให้เป็นด้วยดีจนได้รับพัดเกียรติคุณจากกระทรวงศึกษาธิการในปีพุทธศักราช 2491
โรงเรียนประชาบาลจึงได้ย้ายออกจากวัดไปตั้งในพื้นที่ของราชการ(โดยประชาชนยกให้) เพื่อให้เป็นเกียรติคุณ แลเกียรติประะวัติแก่ท่าน พินิจสังฆภารทางการจึงขอนำเอานามของท่าน
ตั้งชื่อท้ายโรงเรียนว่า "ดรงเรียนอ่างหิน (เพียรพิทยาคาร)" และสถาบันศึกษาแห่งนี้ยังคงใช้นามนั้นจนถึงปัจจุบัน สภาพวัดใยปัจจุบันเสนาะสนะบางแห่งชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก
ทางวัดได้รื้อถอนเป็นบางส่วน ส่วนที่ยังใช้การได้ก็บูรณปฎิขรณ์เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตามกำลังอัดภาพของทางวัด วัดศรีนวล
สมัยก่อนเริ่มแรกมีเณรจำนวนมากปกครองคณะสงฆ์มหานิกายเมื่อปี พุทธศักราช 2478 ถูกเปลี่ยนการปกครองมาเป็นธรรมยุตินิกาย สาเหตุมาจากบ้านเมืองเดือดร้อน
ปรชาชนล้มตายเป็นจำนสนมาก (ลักษณะการตายคือมีอาการป่วยแต่ไม่สมควรตายก็ตาย) สันนิษฐานว่าเกิดจากผีสิง พระพุทธรูปปางห้ามสมุด (ยกมือข้างเดียว) 
มีสององค์ ยืนหนึ่ง นั่งขัดสมาธิหนึ่งองค์ ชาวบ้านจึงอันเชิญไปอยู่ที่วัดสระแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี หลังจากนั้นชาวบ้านก็เริ่มมีชีวิตเป็นปกติสุข
ต่อมาปี พุทธศักราช 2485 เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงค์ ติสฺสมเถร (อ้วน แสนทวีสุข) สั่งให้พระคุณเจ้า พระครูพินิจสังฆภาร (เพียรภาคะ) พระทั้งสององค์กลับมาประดิษฐานที่วัดศรีนวลเหมือนเดิมแต่ประชาชนก็อยู่อย่างปกติ
มีเจ้าอาวาาสตั้งแต่สร้างวัดจนถึงปัจจุบัน รวม 9 รูป ดังนี้
      
     รูปที่ 1  หลวงปู่เคน     แสนทวีสุข            พุทธศักราช 2465-2472
     รูปที่ 2  หลวงปู่เคน     แสนทวีสุข            พุทธศักราช 2472-2481
     รูปที่ 3  หลวงปู่ถา      (ไม่ทราบนามสกุล)  พุทธศักราช 2475-2477
     รูปที่ 4  หลวงปู่ก่ำ      รัญคำภา                พุทธศักราช 2477-2479
     รูปที่ 5  หลวงปู่ฟอง    นามวา                  พุทธศักราช 2479-2481
     รูปที่ 6  หลวงปู่ช้าง     มุทาวัน                 พุทธศักราช 2481-2482
     รูปที่ 7  หลวงปู่พรหม  จันทร์แรม              พุทธศักราช 2482-2484
     รูปที่ 8  พระครูพินิจสังฆภาร(โพธิญาโน)     พุทธศักราช 2484-2525
     รูปที่ 9  พระสุนารถมุนี(มานะ นาถกโร)       พุทธศักราช 2525 - ปัจจุบัน
    
         ผู้ให้ข้อมูล พ่อใหญสุวรรณ จันทร์แรม อายุ 84 ปี บ้านเลขที่ 148/2  ต.อ่งศิลา อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
ประวัติวัดศีลวิสุทธาราม (ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดนอก")
      
         เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี พุทธศักราช 2497 มีนายทองดี สิงห์คำ กำนันตำบลอ่างศิลา ซึ่งเป็นผู้ชักชวนญาติพี่น้องชาว
ตำบลอ่างศิลาทุกคนทั้ง หมู่ 2 และ หมู่ 3  ต.อ่างศิลา อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี พวกเราทั้งที่เกิดมายังไม่เคยสร้าง
วัดวากับเขาเลย การสร้างวัดนี้ท่านว่าบุญมากหลายแท้ๆ ฉะนั้นพวกเราพากันมาสร้างวัดกันเถิด แล้วชาวมีจิตศรัทธาก็ได้
 ก็ได้มาถากถางขุดต้นไม้ออกให้สะอาด และพากันบริจาคเงินหาซื้อบ้านมา 2 หลัง แล้วสร้างเป็นกุฎิ 2 หลัง 
หลังหนึ่งใหญ่พอพอสมควรไว้เป็นที่บำเพ็ญบุญ ตักบาตรในวันพระและบำเพ็ญบุญในวันเทศกาลต่างๆได้ 
จึงได้ไปกราบนมัสการท่านพระครูญาณ วิสุทธิคุณอดีตเจ้าคณะอำเภอวัดโพธิ์ตาก อ.พิบูลมังสาหาร 
ท่านจึงได้แต่งตั้งให้ฎีกา ทองอ่อน   วัดมุจรินทราราม ต.ดอนจิก
และคณะสงฆ์สามเณรไปประจำที่วัดใหม่บ้านอ่างศิลาในปั พ.ศ. 2497  
ท่านจีงตั้งชื่อ วัดใหม่ว่า  วัดศีลวิสุทธาราม  จนกระทั่งทุกวันนี้ จึงขอรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ
นายทองดี สิงห์คำ (ผู้บันทึก) 




ศาลาการเปรียญหลังเก่าที่บูรณะปฎิสังขรณ์ใหม่ และอุโบสถ
   
        ประวัติเจ้าอาวาสวัดศีลวิสุทธาราม 
                  เมื่อปี พุทธศักราช 2497 พรใบฎีกา ทองอ่อน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึงปี พุทธศักราช 2500 จึงลาสิกขา
พระครูสิริ สจฺจคุณ ย้ายมาจากวัดโพธิ์ตาก อำเภอพิบูลมังสาหาร เป็นเจ้าอาวาสณรูปต่อมา พระครูสิริ สจฺจคุณ
ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัฌชายะ และเป็นเจ้าคณะตำบลอ่างศิลา ถึงปี พ.ศ. 2509
เจ้าคณะจังหวัดสั่งย้ายไปเป็นเจ้าอาวาส วัดอมรินทราราม อำเภอบุณฑริก จึงแต่งตั้งพระแดง สุโภภาค จากวัดสวนสวรรค์
อำเภอพิบูลมังสาหาร มาแทนถึงปีพุทธศักราช 2514 จึงลาสิกขา ชาวบ้านร่วมกันกันไปนิมนต์พระครูสิริ สจฺจคุณ
กลับมาเป็นเจ้าคณะตำบลอ่างศิลา และดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสอีกครั้งถึงปี พ.ศ.2533 ท่านมรณภาพ
ชาวบ้านจึงไปนิมนต์ พระกล้าศึก อนนฺโท จากวัดสวนสวรรค์ มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองได้ปีเศษเท่านั้น 
ท่านก็ได้หนีไปศึกษาปฏิบัติกรรมฐานแห่งอื่น ชาวบ้านจึงไปนิมนต์ พระอธิการทองคำ ถาวโร
จากวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มาเป็นเจ้าอาวาสแทนในปี พ.ศ. 2534
จนถึงปัจจุบัน

ประวัติโรงเรียนบ้านอ่างหิน (เพียรพิทยาคาร)
      โรงเรียนบ้านอ่างหิน(เพียรพิทยาคาร) เป็นโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3  สำนักงานคณะกรรมการขึ้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 บ้านอ่างหินเหนือ ตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ.2475
เดิมชื่อ โรงเรียนประชาเทศบาลตำบลหนองบัวฮี โดยพระวิภาคย์พจนกิจ นายอำเภอพิบูลมังสาหาร กับ ขุมพิมพกุล ศึกษาธิการอำเภอ
โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดศรีนวลเปิดสอน ในระดับชั้นประถมปีที่ 1 ถึงระดับชั้นประถมปีที่ 3  มีนายขำ วงศ์ธนู เป็นครูใหญ่ 
ต่อมาได้ย้ายามาปลูกสร้างอาคารเรียนใหม่แบบ ป.1 ซอยในพื้นที่โรงเรียน ปัจจุบัน มีเนื้อที่ทั้งหมด 110 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา
โดยมีพระครูพินิจสังฆ์ภาร (เพียร ภาคะ) เป็นประธานในการจัดหาทุนสร้าง ได้รับงบประมาณจากทางราชการสมทบ 8,000 บาท
มีนายเล็ก สุทธิโยธา เป็นครูใหญ่เพื่อเป็นเกียรติแก่พระครูพินิจสังฆภาร จึงได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนบ้านอ่างหิน (เพียรพิทยาคาร)
ใช้อักษรย่อว่า อ.พ. 
      
     เปิดสอนครั้งแรกชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นภาคบังคับ เรียกว่า ชั้นประถมสามัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6
เรียกชั้นประถมวิสามัญสามัญ สายอาชืพไม่บังคับเรียน พ.ศ. 2478 ใช้แผนการศึกษาชาติฉบับที่ 2 ตัดชั้น ป.5-ป.6 คงเหลือไว้เฉพาะชั้น ป.1 
     คงเหลือไว้ชั้น ป.1-ป.4 หากเรียนจบถือว่าเรียนจบชั้น ประถมศึกษาสมบูรณ์  
พุทธศักราช 2503 ใช้แผนการศึกษาชาติฉบับที่ 3 แบ่งเป็น 2ระดับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 
และคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 
    ปัจจุบันได้ดำเนินการจัดศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 รวมทั้งได้จัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา 
และระดับปรถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 1-2 และโรงเรียนได้บริหารจัดการศึกษาตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542


ได้รับงบประมาณโรงเรียนดีประจำตำบลเพื่อปรับปรุงอาคารเรียน
         รายนามชื่อคณะผู้บริหาร
           นายขำ            วงศ์ธนู           ครูใหญ่                                                  พุทธศักราช 2475-2477
           นายแดง          สิงห์สุทธิ์        ครูใหญ่                                                  พุทธศักราช 2477-2478
           นางถา            สินทรัพย์        ครูใหญ่                                                  พุทธศักราช 2478-2483
           นายผัน           ถาวรเสถียร      ครูใหญ่                                                 พุทธศักราช 2483-2488
           นายบุญหล่อ    ทองพิทักษ์      ครูใหญ่                                                 พุทธศักราช 2488-2489
           นายเล็ก          สุทธิโยธา        ครูใหญ่                                                 พุทธศักราช 2489-2499
           นายรณกริช      สุรศิลป์           ครูใหญ่                                                 พุทธศักราช 2499-2501
           นายเถิง           ลาภเย็น          ครูใหญ่                                                 พุทธศักราช 2501-2502
           นายสำเภา       คงบุญ             ครูใหญ่                                                 พุทธศักราช 2502-2502
           นายปรมวล      อ่อนยอ            ครูใหญ่                                                 พุทธศักราช 2502-2506
           นายถวัลย์       อุปลาบัติ           ครูใหญ่                                                 พุทธศักราช 2506-2516
           นายนารถ        จันทมงคล         ครูใหญ่                                                 พุทธศักราช 2516-2522
           นายสุวรรณ      เมืองซอง          ครูใหญ่                                                 พุทธศักราช 2522-2529
           นายประมวล     อ่อนยอ            อาจารย์ใหญ่-ผู้อำนวยการโรงเรียน               พุทธศักราช 2529-22534
           นายประภาศ     ลาสุดตา          รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน      พุทธศักราช 2535
           นายจิตตินันท์    ชบาศรี            ผู้อำนวยการโรงเรียน                                 พุทธศักราช 2535-2541
           นายพงษ์ศักดิ์    ใจหาญ           ผู้อำนวยการโรงเรียน                                 พุทธศักราช 2541-2550
           นายเฉลิมพล     เกตุมาตย์        ผู้อำนวยการโรงเรียน                                 พุทธศักราช 2550-จนถึงปัจจุบัน


ประวัติโรงเรียนอ่างศิลา
             โรงเรียนอ่างศิลา  ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2519 โดย นายสุทัศน์ ทิวทอง ศึกษาธิการอำเภอพิบูลมังสาหาร
ในขณะนั้นได้หารือกับ นายทองดี สิงห์คำ กำนันตำบลอ่างศิลาในขณะนั้นว่าตำบลอ่างสิลา ควรมีโรงเรียนมัธยมศึกษา
ประจำตำบล เนื่องจากเป็นตำบลที่มีประชากรมาก จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกอบด้วย
    
              นายทองดี  สิงห์คำ           กำนันตำบลอ่างศิลา
              นายยุธร     ชาญจิตร         สมาชิกสภาจังหวัด
              นายนารถ   จันทรมงคล      ครูโรงเรียนบ้านอ่างหิน
              นายนก      จันทร์ศิริ          ครูโรงเรียนบ้านอ่างหิน
              นายอรุณ   สมชัย              ครูโรงเรียนบ้านอ่างหิน

คณะกรรมการได้ขอความร่วมมือกับชุมชน ข้าราชการในท้องถิ่นเพื่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นหลัง 
และทำเรื่องขอจัดตั้งโรงเรียนไปตามลำดับโดย   พฌ  ไชยศิริ  เรืองกาญจนเศรษฐ สมาชิกผู้แทนราษฎร
จังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้นเป็นผู้ประสานงานช่วยเหลือและในที่สุดกระทรวงศึกษาธิการ
ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียน สังกัด ลงวันที่ 16 พุทธศักราช 2519 ตั้งอยู่ หมูที่ 9 ตำบลอ่างศิลา
อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ติดถนนสายดอนจิก-โนนเลียง มีระยะห่างจากตัว
อำเภอพิบูลมังสาหาร 21 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี 65 กิโลเมตร
สมัยก่อนเปิดสอน มศ.1- มศ.3 ปัจจุบัน เปิดการเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

เครื่องหมายประจำโรงเรียน
-หลักศิลาที่บรรจุหนังสือ แท่งเทียน ประกาแสง และรวงข้าว
-อักษรย่อ อ.ศ.
-สีประจำโรงเรียน  แสด-ขาว
-ผู้บริหารคนแรก คือ นายวีระพล เวชพันธ์


อาหคารหลังแรกที่มีการบูรณต่อเติมใหม่

ประวัติสุขศาลา
            การก่อตั้งสุขศาลา พระครูพินิจสังฆภาร โพธิญาโณ เป็นผู้ดำเนินการจัดหาสถานที่และประสานงาน
ติดต่อผู้สนับสนุน คือนายเลียง ไชยกาล ก่อตั้งเมื่อปี พุทธศักราช 2489
เจ้าหน้าที่คนแรก คือ หมอแพงศรี คนที่สอง จำชื่อไม่ได้  คนที่สาม คือ หมอถวิล คนที่สี่ จำชื่อไม่ได้  
คนที่ห้า คือ นายบรรยง คืนดี คนที่หก คือ นางวาระ สมชัย
            จากนั้นคุณหมอวาระจึงมอบพื้นที่ของตนให้เป็นก่อสร้างและตั้งชื่อ "สถานีอนามัย" ในปี พ.ศ.2513
ต่อมาเจ้าหน้าที่ประจำการ คือ นายสลี สาลีแผง เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน ในปี พ.ศ.2547
นางสุบรรณ พิมพบุตร เป็นหัวหน้า

เศรษฐกิจ
   ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชืพเกษตรกรรมเป็นหลัก คือ การทำนา ทำสวน ทำไร เลี้ยงสัตว์และค้าขาย 
เป็นต้น
              สมัยก่อนการทำอาชืพเกษตรกรรมทำเพื่อยังชืพแลกเปลี่ยนกันกินเหลือค่อยนำไปขายให้กับโรงสี
การทำนาในสมัยก่อนใช้วิธีการปักดำ การไถนาใช้ควายเป็นพาหนะในการลากจูง วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้
ในการเกษตรผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติที่ทำจากไม้และเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
การทำนา ทำสวน ทำไร่ ใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์เป็นส่วนใหญ่ ไม่มีการใช้สารเคมีเพราะแร่ธาตุในดิน
ยังอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย
อาศัยน้ำจากธรรมชาติในการทำนาคือ น้ำฝน
             การปลูกพืชผักในฤดูแล้งได้น้ำจากห้วยหนอง คลองบึง ได้แก่ ห้วยเสาธงและห้วยเลี้ยงหมู
โดยการทำฝายกั้นน้ำเพื่อกักน้ำไว้
             การเลี้ยงสัตว์เป็นการเลี้ยงไว้ใช้งาน ได้แก่ ควาย วัว การเลี้ยงไว้เป็นพาหนะลการแข่งขัน
ได้แก่ ม้าและเลี้ยงไว้เป็นอาหารและขาย ไแก่ หมูเป็ด ไก่
พ่อค้าที่รับซื้อ วัว ควาย เรียกว่า "นายฮ้อย"
พ่อค้าที่รับซื้อหมู เป็ด ไก่  เป็นพ่อค้าคนกลางส่วนมากเป็น ชาวจีน และ แกว (คนเวียดนามปัจจุบัน)
คนที่ย้ายมาตั้งหลักปักฐานในชุมชนโดยการเข้ามาจับจองพื้นที่ป่าและถากถางเพื่อการทำไร่ ทำนา
การค้าขาย คนในสมัยก่อนใช้ตะกร้าฮวง (เป็นภาษาอีสาน)ใส่ของเดินเท้าไปขายตามหมู่บ้าน
ต่างอำเภอ สินค้าที่นำไปขาย ได้แก่ เนื้อสัตว์ กบ ปลา ไข่  อาหารคาวหวาน เช่น ขนมจีน หมี่กะทิ

สังคม
การคมนาคม
คนในสมัยก่อนมีการคมนาคมโดยการเดินเท้า ใช้ม้าเป็นพาหนะ พัฒนามาเป็นล้อและเกวียน รถถยนต์
(สมัยโบราณ)และจักยานในเวลาต่อมา
ถนนเริ่มจากกร่องเล็กที่คนและสัตว์เหยียบย่ำบ่อยๆต้นไม้ใบหญ้าเล็กๆบริเวณนั้นตายหมด เมื่อมีล้อ
มีเกวียนก็เป็นทางเกวียน พัฒนามาเป้นทางลูกรังในเวลาต่อมา อดีตวิถีชีวิตความเป็นอยู่
มีความผูกพันกับธรรมชาติ
กลุ่มชนดั่งเดิมของหมู่บ้าน  คือ ชนเผ่าไทยน้อย
ภาษาท้องถิ่นดั่งเดิม คือ ภาษาอีสาน ภาษาปัจจุบัน คือภาษาอีสาน
การศึกษา
วิวัฒนาการศึกษา
ชั้นประถมสามัญ ป.1-ป.4
ประถมวิสามัญสามัญ ป.1-ป.7
ชั้นมัธยมศึกษา มศ.1-มศ.3
      คนสมัยก่อนบางคนก็ไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะต้องทำงานเลี้ยงครอบครัวเลี้ยงน้อง เพราะบางครอบครัวมีลูกมาก
ในสมัยก่อนยังไม่มีการคุมกำเนิดจึงมีลูกมากจะสังเกดได้ว่าคนสมัยก่อนจะมีลูกมากกว่าปัจจุบัน คนในสมัยปัจจุบัน
จะมีลูกน้อยเพราะภาระครอบครัวมีมากขึ้นคนมีการศึกษาสูงรู้จักวางแผนครอบครัวคนสมัยก่อนไม่ค่อยนิยมเรียนหนังสือ
อย่างก็จบ ป.4 - ป.7

สาธารณสุข
วิวัฒนาการสาธารณสุข
หมอชาวบ้าน ---->สุขศาลา---->สถานีอนามัย---->โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน
  คนสมัยก่อนเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยต้องพึ่งหาอาศัยการรักษาจากหมอชาวบ้าน
การคลอดลูกต้องอาศัยหมอตำแย หรือ ต้องพึ่งพาอำนาจลึกลับผีสางเทวดา ตามเชื่อของแต่ละบุคคล
สุขภาพ
  ผู้คนในสมัยก่อนมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและพฤติกรรม
ไม่ถูกลักษณะ
โรคร้ายที่เกิดในสมัยก่อน ได้แก่  
โรคอหิวาตกโรค มีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากการกินอาหารสุกๆดิบๆ 
การแพร่เชื้อเกิดจากการขับถ่ายไม่ถูกสุขลักษณะโบราณไม่มีสมุนไพรรักษา
ใครเป็นหนทางเดียว คือ เสียชีวิต
โรคฝีดาษ (โบราณ เรียกว่า ไข้หมากไม้ใหญ่) มีอาการไข้มีตุ่มขึ้นตามร่างกายหนองพุพอง
ถ้าออกตามผิวหนังมีโอกาสรอดสูง ถ้าออกภายในร่างกายไม่มีตุ่มออกตามร่างกายส่นมากจะเสียชีวิต
วิธีการรักษาของหมอชาวบ้าน นำเลือดหมาดำ เลือดแมวดำ เลือดคนดำ เฮือด 7 ตัว เหา 7 ตัว
คราบแมงมุม 7 คราบ เอาทั้งหมดมารวมกันแล้ดื่มเป็นยารักษา
โรคฝีมะม่วงหรือหนองใน เกิดจากพฤติกรรมการสมสู่ของผู้ชาย ที่เรียกกันว่า 
เที่ยวผู้หญิงทำใหเกิดติดเชื้อเป็นฝีหนองที่อวัยวะสืบพันธุ์
วิธีการรักษาใช้สมุนไพรต้มด้วยหม้อดิน(ไม่ทราบตัวยา)
ต่อมาสุขสาลา มีหมอประจำที่สุขศาลาเมื่อคนไข้ก็จะมาเรียกให้หมอไปดูอาการ
ที่บ้านและรักษาที่บ้านของผู้ป่วย
ศาสนา 
       การดำรงชีวิตของคนสมัยก่อนมีกรอบมีระเบียบมีผลทางด้านจิตใจของคนในสังคม
คือ  การนับถือศาสนาพุทธ ครในชุมชนมีจิตใจดีงาม มีเมตตากรุณาต่อกัน
มีความเอื้อเฟื้อเผือแผ่เกื้อกูลซึ่งกันและกันจนเิกดเป็นประเพณีที่ดีงามสืบทอดกันมา

ประเพณีและวัฒนาธรรม
   ชนเผ่าอีสานมีประเพณีดั้งเดิมเป็นของตนเอง ทุกคนพากันเคารพนับถือวึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต
ของคนปัจจุบัน ได้แก่ ฮีต 12 คือ การทำบุญ 12  เดือน
ฮีตที่ ๑ บุญเข้ากรรม หรือ บุญเดือน ภิกษุต้องอาบัติ.สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นจากอาบัติ
ญาติโยมพ่อออก แม่ออกผู้อยากได้บุญกุศลก้จะให้ไปทาน รักษาศีลฟังธรรมกับการเข้ากรรมของภิกษุ
เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้
วันที่นิยมทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ำเพราะเหตุมีการกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียง
จึงเรียกว่าบุญเดือนเจียง


    อันว่าประเพณีพุทธศาสนาเราไว้เป็นธรรมประจำชาติเป้นความประพฤติดีเลิศล้น พระสงฆ์สร้างก่อบุญ คำว่า
กรรมคือกรรมของภิษุสัฆาฎิเสท ๑๓ ข้อนั้น พระสงฆ์ต้องอยู่กรรม เพื่อความบกพร่องของศีลดังกล่าว 
พระภิกษุสังฆ์จึงเข้ากรรมเพื่อชำระความเศร้าหมองพวกนี้ แล้วจะเจริญกว่าเดิม ประเพณีบอกไว้
ถือว่าเป็นสำคัญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ กำหนดการไว้หรือว่าวันเพ็ญเดือนอ้ายทำบุยตักบาตร เรียกว่า บุยเดือนอ้าย
แนวนี้ก็หาก 
              พระภิกษุต้องอาบัติสังฆำิเสท แล้วจำเข้าอยู่กรรม ถ้าบ่มีเข้าบำเพ็ญธรรมบ่สะอาด บ่สามารถบรรลุธรรม
อีกจำพรรษา มีเรื่องเล่าว่า ๓ิกษุหนุ่มบำเพ็ญธรรม ในพงศ์ไพรป่าคาราวเรื้อ วันหนึ่งเลยมาข้ามเรือแพในป่าได้ดึงใบตระใคร่น้ำ
แคมข้างทางระหว่างชลหา ภิกษุอื่นบ่ได้จะแสดงออกซึ่งอาบัติ บำเพ็ญธรรมจนจบช
สำนักงานเทศบาลตำบลอ่างศิลา
เลขที่ 26 หมู่ที่ 9 ตำบลอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34110
โทรศัพท์ : 0-4525-1682 สำนักปลัด 045-251681 กองคลัง  045-251683 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  
045-251684 กองศึกษา และกองสาธารณสุข โทรสาร : 0-4525-1682  อีเมล์ :
saraban-angsila@lgo.mail.go.th
เว็บไซด์ : www.angsila.go.th
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ : 
http://www.oic.go.th/infocenter47/4716/
   facebook : งานประชาสัมพันธ์เทศบาลตำบลอ่างศิลา 
https://www.facebook.com/profile.php?id=100008388495251
เพจ : https://www.facebook.com/437701603419106/